ตำนานสัตว์ล้านนา

⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

สัตว์ล้านนามีหลายลักษณะและหลายความเชื่อต่างกันไป มีทั้งการผสมกันต่างชนิดอีกด้วย และยังพบในวัดหรือศาสนสถาน วันนี้ทาง Haa – nee Organizer จะมาเล่าให้ฟังว่าที่เราเจอในวัด มันจะคือสัตว์ตัวไหนกัน

⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

1.พญาลวง

Credit : matichonweekly

เป็นสัตว์ในตำนานชนิดหนึ่งที่มีปรากฏอยู่ในศิลปกรรมล้านนาเกือบทุกประเภท แต่ว่ามักถูกเข้าใจผิดว่าคือรูปปั้นของพญานาค ตัวลวงของล้านนาจะมีลักษณะที่คล้ายกับมังกรและพญานาครวมกัน จะมีเขา ปีก และขา เชื่อว่าคำว่า ลวง เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า เล้ง ที่แปลว่า มังกร มีความหมายถึง พลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และในศิลปะแบบล้านนาเราจะพบพญาลวงเสมอ จะมักประดับที่ฝาผนังวิหาร โบสถ์ ปราสาท หรือซุ้มประตูโขง

2. สิงห์

Credit : castbox.fm

ตามตำนานและความเชื่อของป่าหิมพานต์แล้ว สิงห์ จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด นั่นก็คือ ราชสีห์ และอีกชนิดคือ สิงห์ผสม โดยจะมีรูปร่างเป็นสัตว์ป่าประสม ที่มีลักษณะของราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น เช่น ช้าง

3.มอม

Credit : accl.cmu

เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์หลายชนิด ทั้ง แมว สุนัข ตุ๊กแก ลิง เสือ กิ้งก่า มีแขนยาว ลำตัวยาวยืดเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน เจ้ามอมเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับวัดและวิถีชีวิตของชาวล้านมานาน และมอมยังเป็นสัตว์ที่ชาวล้านนามักสักติดตัว เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน

4. เหรา (เห-รา)

Credit : matichonweekly

เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มีศักดิ์เป็นลูกของพญานาค โดยผู้ที่เป็นแม่ของเหรานั้นคือมังกรนั่นเอง แต่ในไทยจะมักจะพบประติมากรรมศิลปะของเหราจะไม่มีเขา หนวด และเครา มักจะพบฟันแบบจระเข้มากกว่า

5. ช้างเอราวัณ

Credit : X

เป็นอีกสัตว์ที่ไทยจะถือว่าเป็นสัตว์มงคล จะพบได้ในบางวัด และที่สำคัญจะต้องสร้างให้มีขนาดใหญ่โตอีกด้วย เพราะในตำนานมีขนาดใหญ่มาก มี 33 เศียร และแต่ละเศียรจะรองรับปราสาทของเทพ 33 องค์ แต่ในตามวัดจะปั้นเพียง 3 เศียร นิยมใช้ประดับในทางเข้าวัด ตามเจดีย์ หน้าวิหาร เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในวัด

6. มกร (มะ-กอน)

Credit : knockaroundsea

เป็นอีกหนึ่งสัตว์ในตำนานตามความเชื่อของชาวเหนือ จะพบเห็นได้ในตามวัดในแถบภาคเหนือ จะมีลักษณะผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค จะมีขายื่นออกมาจากลำตัว จะถูกปั้นให้อยู่ในท่าทางที่กำลังคาย พญานาคออกจากปากด้วย จะเรียกว่า มกรคายนาค เฝ้าอยู่ตรงราวบันไดของวัด

และมกรยังเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็นการอวยพรให้ผู้ที่เข้ามามีความสุข นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า มกรเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่คงคา และพระวรุณ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำด้วย ส่วนที่ช่างปั้นให้อยู่ในลักษณะคายนาคนั้น เพื่อสื่อความหมายด้านพุทธศาสนา เปรียบกับมกรเป็น ความรัก โลภ โกรธ หลง ส่วนนาคนั้นคือ ตัวเรา แปลความหมายได้ว่า หากตัวเรายังยึดติดกับความลุ่มหลงต่างๆ เราก็เหมือนกับพญานาคที่ถูกมกรยึดติดไว้ ไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ หรือปล่อยวางได้

⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ขอบคุณข้อมูลจาก : trueid และ mercular

แชร์ให้เพื่อนดูด้วย

error: ขออภัย รูปภาพ-ข้อความ ในเว็บไซต์นี้ มีลิขสิทธิ์!